ข่าวปลอม มีมากมายที่เผยแพร่ออกไป สร้างความบิดเบือน ความเข้าใจผิด และความตื่นตระหนักให้แก่ประชาชนทั่วไปนั้น สามารถจำแนกกว้างๆ ได้ถึง 10 ประเภทด้วยกัน ล่าสุดทางด้านกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบโจรไซเบอร์แสบ ปั่นข่าวปลอม สุดสัปดาห์ ล่าสุดประชาชนแห่ให้ความสนใจและหลงเชื่อ “ตลาดหลักทรัพย์ฯ กับ ก.ล.ต.” เปิดซื้อกองทุน เริ่มต้น 1,000 บาท ขึ้นแท่นอันดับ 1
ข่าวปลอม เตือน! มิจฉาชีพอ้าง ตลท.-ก.ล.ต. ชวนซื้อกองทุน
ข่าวปลอม ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบโจรไซเบอร์แสบ ปั่นข่าวปลอมสุดสัปดาห์ ล่าสุดประชาชนแห่ให้ความสนใจและหลงเชื่อ “ตลาดหลักทรัพย์ฯ กับ ก.ล.ต.” เปิดซื้อกองทุน เริ่มต้น 1,000 บาท ขึ้นแท่นอันดับ 1 ระวัง! ข่าวปลอมถูกหลอกให้ลงทุน อย่าหลงเชื่อ SMS เพจเว็บไซต์ปลอม พร้อมย้ำเป็นข้อมูลเท็จ
นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ กล่าวถึง ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 16 – 22 มิถุนายน 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,243,068 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ(Verify) ทั้งสิ้น 241 ข้อความ ทั้งนี้ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 206 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 35 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 161 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 98 เรื่อง
ดีอีเอส แบ่งข่าวที่ได้ความสนใจเป็น 4 กลุ่ม
ทั้งนี้ ดีอีเอส ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
ข่าวปลอม กลุ่มที่ 1
นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในกระเทศ จำนวน 68 เรื่อง อาทิ รัฐฯ เตรียมแจกเงินยังชีพผู้สูงอายุเพิ่ม 3,000 บาท เริ่ม 10 ก.ค. 66 นี้ เป็นต้น
ข่าวปลอม กลุ่มที่ 2
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย จำนวน 56 เรื่อง อาทิเป็นเบาหวานหากไม่รักษา เสี่ยงโรคหัวใจอัมพาตไตพิการ ตามัวตาบอด เป็นต้น
ข่าวปลอม กลุ่มที่ 3
ภัยพิบัติ จำนวน 11 เรื่อง อาทิ พายุถล่มตั้งแต่มิ.ย. ถึงสิ้นเดือนฝนตกหนัก สัญญานเตือนมหาอุทกภัย รับมือทั่วประเทศ และปีนี้น้ำท่วมใหญ่ เป็นต้น
ข่าวปลอม กลุ่มที่ 4
เศรษฐกิจ จำนวน 26 เรื่อง อาทิ ธ.ก.ส. เปิดตัวโครงการมีหนี้นอกบอก ธ.ก.ส. ให้เกษตรกรลูกค้าและคนในครอบครัวที่มีหนี้นอกระบบ ลงทะเบียนขอเงินทุน ดอกเบี้ยผ่อนปรน เป็นต้น โดยมี ประเด็นข่าวที่เกี่ยวกับโควิด-19 จำนวน 1 เรื่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ ในสัปดาห์ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นข่าวด้านกลุ่มนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ รองลงมาเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและกลุ่มเศรษฐกิจตามลำดับ
ข่าวปลอม 10 ลำดับ
สำหรับข่าวปลอม และข่าวบิดเบือนที่มีการแชร์วนซ้ำบ่อยที่สุดในรวม 10 ลำดับ ได้แก่
อันดับที่ 1 : เรื่อง ตลาดหลักทรัพย์ฯ กับ ก.ล.ต. เปิดให้ซื้อกองทุน
อันดับที่ 2 : เรื่อง คนชรากินปาท่องโก๋ที่ใส่แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต ทำให้ไตทำงานหนัก
อันดับที่ 3 : เรื่อง บ้านปู ร่วมกับ ก.ล.ต. เปิดโอกาสฝากหุ้นระยะยาว ปันผลกำไรมากกว่า 3%
อันดับที่ 4 : เรื่อง ขยับนิ้วช่วยเช็กเส้นเลือดสมอง
อันดับที่ 5 : เรื่อง ต่างหูแม่เหล็ก ช่วยลดน้ำหนัก ล้างสารพิษใน 7 วัน
อันดับที่ 6 : เรื่อง ONLINE SHOP สอนสร้างรายได้ รับรองโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมการจัดหางาน
อันดับที่ 7 : เรื่อง การบินไทยฉลองครบรอบ 63 ปี มอบคูปองเที่ยวบิน และบัตรของขวัญฟรี ผ่าน SMS
อันดับที่ 8 : เรื่อง กรมการจัดหางาน รับพนักงานทำงานออนไลน์ รายได้ 650 บาทต่อวัน
อันดับที่ 9 : เรื่อง ชาวอ. กงไกรลาศ จ. สุโขทัย ที่มีหนี้ของธ.ก.ส. , ธ. ออมสิน และธ. กรุงไทย จะถูกเคลียร์ให้เป็นศูนย์
อันดับที่ 10 : เรื่อง ไทยเตรียมหุ้นร่วง หลังพบ ก.ล.ต. อาจจะมีส่วนช่วยคดีหุ้น ITV
10 ประเภทข่าวปลอมที่ควรรู้
ข่าวปลอมมากมาย ที่เผยแพร่ออกไปสร้างความบิดเบือน ความเข้าใจผิด และความตื่นตระหนักให้แก่ประชาชนทั่วไปนั้น เราสามารถจำแนกกว้างๆ ได้ถึง 10 ประเภทด้วยกัน
1.ข่าวพาดหัวยั่วให้คลิก (Clickbait)
เป็นข่าวที่ใช้คำหรือรูปภาพพาดหัวที่ทำให้ดูชวนสงสัยใคร่รู้ หรือดึงดูดใจให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปคลิกเข้าไปอ่าน. ผู้สร้างข่าวอาศัยประโยชน์จากความสงสัย
โดยให้ข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ พอชวนให้ผู้อ่านสงสัย แต่ไม่พอจะขจัดความสงสัยนั้น จนต้องคลิกเข้าไปดูเนื้อหานั้นๆ ทั้งที่เนื้อข่าวอาจไม่คำนึงถึงคุณภาพหรือ ความถูกต้องของข้อมูล แต่การพาดหัวทำให้คนหลงกลดลึกเข้าไปเพื่อเรียกยอดวิวในเว็บไซต์นั่นเอง
2.โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda)
เป็นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มุ่งชักจูงทัศนคติของผู้รับสารต่ออุดมการณ์หรือมุมมองบางอย่างโดยการนำเสนอการให้เหตุผลเพียงข้างเดียว การโมษณาชวนเชื่อ มักทำซ้ำและกระจายในสื่อหลายชนิด เพื่อหวังผลให้ผู้รับสารเชื่อและคล้อยตามอุดมการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อ
3.ข่าวแฝงการโมษณา (Sponsored content , Native Advertsing)
รูปแบบโฆษณาที่ใช้รูปแบบเนื้อหาแนบเนียนกับเนื้อหาปกติในเว็บไชต์นั้นๆ พร้อมทำหน้าที่ให้เนื้อหาที่คนต้องการรับรู้ หรือรับชม โดยไม่ทราบว่าเป็นโฆษณาจนกว่าจะได้อ่าน/ดูจบ ข่าวแฝงการโฆษณานี้จะทำการแฝง (Tie-in) เรื่องราวของแบรนด์และสินค้าไม่มากเกินไป ทำให้คนอ่านหรือคนเสพสื่อนั้น รู้สึกว่าไม่ไต้อ่านโฆษณาอยู่
4.ข่าวล้อเลียนและเสียดสี (Satire and Hoax)
ข่าวที่ดัดแปลงข้อมูลเพื่อมุ่งสร้างอารมณ์ขันให้กับผู้อ่าน ใช้เนื้อหาที่ตลกขบขัน เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ข่าวในโลกแห่งความเป็นจริงผ่านการล้อเลียนหรือเสียดสี
5.ข่าวที่ผิดพลาด (Error)
บางครั้งแม้แต่ข่าวที่เผยแพร่จากสำนักข่าวออนไลน์ที่เชื่อถือได้ ก็อาจมีความผิดพลาดได้เช่นกัน เช่น การเขียนข้อความที่ผิด ชื่อบุคคลหรือรูปภาพผิดจากเนื้อข่าวจริงๆ ซึ่งทำให้ผู้รับสารเข้าใจไปในทิศทางอื่น หรือไม่เข้าใจในข่าวนั้น
6.ข่าวเอนเอียงเลือกข้าง (Partisan)
เป็นข่าวบิดเบือนข่าวสาร มักจะเลือกข้างโดยนำเสนอข่าววิพากษ์วิจารณ์ในทางลบต่อฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ ในขณะที่ฝ่ายที่ตนเองสนับสนุน จะเสนอข่าวชื่นชมเกินจริง โดยเฉพาะด้านการเมือง
7.ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy theory)
เป็นเรื่องเล่าหรือบทความที่สร้างขึ้นมาจากความคิดของคน หรือกลุ่มคนที่นำเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน. โดยอาศัยข้อมูลที่ไม่มีความเชื่อมโยงกัน และอาจมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้น เพื่อให้ประโยชน์ ให้โทษต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งใด เช่น เครื่องบินที่หายไปนั้นโดน CIA ยึดไว้ เพราะต้องการของสำคัญที่อยู่ในเครื่องบิน เป็นต้น
8.วิทยาศาสตร์ลวงโลก (Pseudoscience)
คือ ข้อเขียนที่อ้างว่าเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และข้อเท็จจริง แต่จริงๆ แล้วขัดแย้งหรือเข้ากันไม่ได้กับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือไม่มีหลักฐานหรือความเป็นไปได้ใดๆมาสนับสนุน มักจะมาในรูปแบบของบทความทางการแพทย์หรือบทความสุขภาพที่แฝงโฆษณายารักษาหรือ อุปกรณ์เพื่อสุขภาพ โดยแอบอ้างว่าได้ผ่านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว มีการสร้างภาพผู้เชี่ยวชาญขึ้นมา เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ
9.ข่าวที่ให้ข้อมูลผิดๆ (Misinformation)
คือ ข่าวที่ไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อน ข้อมูลอาจมีทั้งจริงและเท็จผสมกัน ผู้ส่งสารตั้งใจจะส่งข่าวออกไป แต่อาจจะไม่ได้ตระหนักว่าข่าวนั้นมีข้อมูลที่ผิดพลาดอยู่ เช่น ข่าวลือต่างๆ
10.ข่าวหลอกลวง (Bogus)
คือ ข่าวปลอมที่เจตนาในการสร้างขึ้นมาและจงใจให้แพร่กระจาย มีวัตถุประสงค์เพื่อหลอกลวง อาจมีเนื้อเรื่อง ภาพ หรือข้อมูลต่างๆ ที่เป็นเท็จมาประกอบกัน อาจรวมถึงการแอบอ้างเป็นแหล่งข่าวหรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ทุกวิธีการที่จะทำให้ข่าวนั้นดูเป็นข่าวปลอมที่สมบูรณ์มากขึ้น
เตือนประชาชนเรื่องมิจฉาชีพ
นอกจากนี้ ขอฝากเตือนประชาชนเรื่องมิจฉาชีพที่ยังมีการหลอกลวงอย่างต่อเนื่อง ควรตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้าน อย่าหลงเชื่อในข้อความเชิญชวนต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการหลอกลวงให้ลงทุน ให้สินเชื่อต่างๆของมิจฉาชีพที่ปลอมตัวเป็นผู้ให้บริการทางการเงินต่างๆ เลือกแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และถูกต้อง มีสติ รู้เท่าทันข่าวปลอม
ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- อนุทิน ยันไม่คิดเสนอชื่อแข่งชิงประธานสภา
- การละเล่นผีตาโขน คนนับแสนร่วมงานประเพณีปี 2566 ที่ จ.เลย
- ค้าประเวณี รวบแม่เล้าหลอกเด็ก 15 รับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา
- จุรินทร์ นัดถก ส.ส. ประชาธิปัตย์ 2 ก.ค. นี้
ที่มาของบทความ
- https://www.ryt9.com
- https://resourcecenter.thaihealth.or.th
- https://www.dpo.go.th
- https://mgronline.com
ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่ phpmill.com
สนับสนุนโดย ufabet369